สถิติ
เปิดเมื่อ13/09/2012
อัพเดท27/02/2013
ผู้เข้าชม7384
แสดงหน้า8702
บทความ
stop teen mom
ประวัติส่วนตัว
คำอธิบายรายวิชา ง22102
วิธีการทำเว็บ
1. ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับการประชาสัมพันธ์
2.ประวัติความเป็นมาของประชาสัมพันธ์
3.หลักการและวัตถุประสงค์ของการประชาสัมพันธ์
4.การประชาสัมพันธ์กับการโฆษณา
5.ขั้นตอนการดำเนินงานประชาสัมพันธ์
6. หน่วยงานประชาสัมพันธ์
7 .สื่อการประชาสัมพันธ์
8 . การประเมินผลการประชาสัมพันธ์
9 .คุณสมบัติของนักประชาสัมพันธ์
10 . ฝึกปฏิบัติงานประชาสัมพันธ์
1. ธรรมชาติและเทคโนโลยี
บทที่ 1 ธรรมชาติและเทคโนโลยี
บทที่ 2 กระบวนการเทคโนโลยี
บทที่3 การออกแบบและเทคโนโลยี
บทที่ 4 เรื่อง พลังงานการหมุนเวียน
บทที่ 5 4R กับการลดการใช้พลังงาน
บทที่ 6 โครงงานเทคโนโลยี
ปฎิทิน
May 2024
Sun Mon Tue Wed Thu Fri Sat
   
1
2
3
4
5
6
7
8
9
10
11
12
13
14
15
16
17
18
19
20
21
22
23
24
25
26
27
28
29
30
31
 




บทที่ 4 เรื่อง พลังงานการหมุนเวียน

อ่าน 121 | ตอบ 0

















รหัสวิชา ง 22101       ชื่อวิชา  การงานอาชีพและเทคโนโลยี 34   
ช่วงชั้นที่  3  ชั้นปีที่  2   
ครูผู้สอน ดรุณี   กันธมาลา
โรงเรียนยุพราชวิทยาลัย  จังหวัดเชียงใหม่          
 
บทที่ 4   เรื่อง  พลังงานหมุนเวียน
 
สาระที่  3:  การออกแบบและเทคโนโลยี
มาตรฐาน ง 3.1  :  เข้าใจธรรมชาติและกระบวนการของเทคโนโลยี  ใช้ความรู้  ภูมิปัญญา  จินตนาการ  และความคิดอย่างมีระบบในการออกแบบ  สร้างสิ่งของเครื่องใช้  วิธีการเชิงกลยุทธ์  ตามกระบวนการเทคโนโลยี  สามารถตัดสินใจ  เลือกใช้เทคโนโลยีในทางสร้างสรรค์ต่อชีวิต  สังคม  สิ่งแวดล้อม  โลกของงานและอาชีพ
 
ผลการเรียนรู้ที่คาดหวัง
  1. เข้าใจความหมาย ประโยชน์ของพลังงานหมุนเวียน
  2. บอกประเภทของพลังงานหมุนเวียนได้
  3. เข้าใจความหมาย  ประโยชน์ และประยุกต์ใช้พลังงานแสงอาทิตย์
  4. เข้าใจความหมาย  ประโยชน์ และประยุกต์ใช้พลังงานลม
  5. เข้าใจความหมาย  ประโยชน์ และประยุกต์ใช้พลังงานน้ำ
  6. เข้าใจความหมาย  ประโยชน์ และประยุกต์ใช้พลังงานชีวมวล
  7. เข้าใจความหมาย  ประโยชน์ และประยุกต์ใช้พลังงานชีวภาพ
  8. มีเจตคติที่ดีต่อการนำพลังงานหมุนเวียนมาใช้ในการผลิตเพื่อการดำรงชีวิต
 
จุดประสงค์การเรียนรู้
  1. บอกความหมาย ประโยชน์ของพลังงานหมุนเวียน
  2. บอกประเภทของพลังงานหมุนเวียนได้
  3. อธิบายความหมาย  ประโยชน์ และประยุกต์ใช้พลังงานแสงอาทิตย์
  4. อธิบายความหมาย  ประโยชน์ และประยุกต์ใช้พลังงานลม
  5. อธิบายความหมาย  ประโยชน์ และประยุกต์ใช้พลังงานน้ำ
  6. อธิบายความหมาย  ประโยชน์ และประยุกต์ใช้พลังงานชีวมวล
  7. อธิบายความหมาย  ประโยชน์ และประยุกต์ใช้พลังงานชีวภาพ
  8. แสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับพลังงานในชีวิตประจำวันได้
  9. สามารถเขียนผังมโนทัศน์เกี่ยวกับพลังงานหมุนเวียนได้
 
สมรรถนะสำคัญของผู้เรียน
  มุ่งพัฒนาผู้เรียนให้เกิดสมรรถนะสำคัญ 5 ประการ ดังนี้
   1.   ความสามารถในการสื่อสาร 
   2.   ความสามารถในการคิด
   3.   ความสามารถในการแก้ปัญหา
   4.   ความสามารถในการใช้ทักษะชีวิต  
   5.   ความสามารถในการใช้เทคโนโลยี
 
อิทธิพลของดวงอาทิตย์ต่อโลกของเรา
          ดวงอาทิตย์เป็นศูนย์กลางของสุริยะจักรวาล  โลกเป็นดาวเคราะห์ดวงหนึ่ง ซึ่งเป็นบริวารของดวงอาทิตย์ดวงอาทิตย์มีอิทธิพลต่อโลกและความเป็นอยู่ของมนุษย์มาก ที่สำคัญ ๆ คือ ดวงอาทิตย์ทำให้สภาพภูมิศาสตร์ของโลกแตกต่างกันคือ เขตร้อน   เขตอบอุ่นเขตหนาว  ดวงอาทิตย์ทำให้เกิดการหมุนเวียนของกระแสอากาศที่สำคัญคือ  ลม การหมุนเวียนของกระแสน้ำในมหาสมุทร คือกระแสน้ำอุ่น กระแสน้ำเย็น นอกจากนั้น ดวงอาทิตย์ทำให้เกิดวัฎจักรของน้ำซึ่งมีผลต่อชีวิตและสิ่งแวดล้อม  ดวงอาทิตย์นอกจาก
จะให้แสงสว่างแก่โลกเราแล้วยังกระจายรังสีออกมาด้วย ซึ่งมีอันตรายต่อสิ่งมีชีวิต  อิทธิพลของดวงอาทิตย์ต่อโลกเรานั้นมีรายละเอียดดังต่อไปนี้
 ดวงอาทิตย์ทำให้สภาพภูมิอากาศของโลกแตกต่างกัน  
        
           เขตต่างๆ ของโลกที่สำคัญๆ คือเขตร้อน เขตอบอุ่น และเขตหนาว เพราะเขตร้อนได้รับแสงจากดวงอาทิตย์ที่มีระยะทางสั้นที่สุด จึงทำให้ร้อนที่สุด ส่วนเขตอบอุ่น เขตหนาว ระยะของแสงจะยาวขึ้นไปตามลำดับ
 
ดวงอาทิตย์ทำให้เกิดการหมุนเวียนของกระแสอากาศ
          
          ในเวลาเดียวกันแต่ละเขตแต่ละถิ่นจะได้รับแสงอาทิตย์ไม่เท่ากันและระบายความร้อนไม่เท่ากัน    เมื่ออากาศ ณ ที่แห่งหนึ่งได้รับความร้อนจากดวงอาทิตย์จะมีคุณสมบัติเบาขยายตัวลอยสูงขึ้น    ณ ที่อีกแห่งหนึ่งมวลอากาศเย็น ซึ่งมีความหนาแน่นมากกว่าเคลื่อนตัวเข้ามาแทนที่ ขณะที่มวลอากาศที่เย็นกว่าเคลื่อนตัวมาแทนที่ เราเรียกว่า “ลม” หรือการหมุนเวียนของกระแสอากาศ    และแต่ละแห่งของโลกจะมีอุณหภูมิแตกต่างกันตามเขตร้อน เขตอบอุ่น เขตหนาว จะมีลมประจำปีคือ    ลมมรสุม ลมตะวันตก ลมขั้วโลก ตามสถานที่เฉพาะถิ่นจะมีลมบก ลมทะเล ลมว่าว ลมตะเภา    เป็นต้น แต่ลมภูเขา ลมบก ลมทะเล เกิดจากการรับความร้อนและการคายความร้อนไม่เท่ากัน    คุณสมบัติของน้ำจะรับความร้อนช้าคายความร้อนเร็ว คุณสมบัติของดินจะรับความร้อนเร็วกว่าน้ำคายความร้อนช้ากว่าน้ำคุณสมบัติของหินภูเขา จะรับความร้อนเร็วกว่าดินคายความร้อนเร็วกว่า 





การหมุนเวียนของกระแสน้ำในมหาสมุทร 
         เกิดจากอิทธิพลของลมและอิทธิพลของการรับความร้อนมากน้อยของกระแสน้ำในมหาสมุทร จะทำให้เกิดกระแสน้ำเย็นไหลมายังเขตอบอุ่นและเขตร้อน และกระแสน้ำร้อนไหลจากเขตร้อนไปยังเขตอากาศเย็น เช่น กระแสน้ำอุ่นกัลฟสตรีม กระแสน้ำเย็นแลบราดอร์ เป็นต้น

ดวงอาทิตย์ทำให้เกิดวัฏจักรของน้ำ 
         
          วัฏจักรของน้ำทำให้เกิดชีวิตเกิดฝน เกิดเมฆหมอก หยาดน้ำค้าง ไอน้ำในบรรยากาศ หรืออาจกล่าวได้ว่า วัฏจักรของน้ำทำให้เกิดชีวิตและสิ่งแวดล้อม วัฏจักรของน้ำเกิดจาก ขณะที่บรรยากาศร้อยขยายตัวลอยขึ้นเบื้องบนพาไอน้ำไปด้วย และในเงื่อนไขของอุณหภูมิที่ต่าง ๆ กัน รวมทั้งสถานการณ์สิ่งแวดล้อมอื่น ๆ เช่น ลมกระแสอากาศ จึงทำให้เกิดเมฆฝน พายุฝนฟ้าคะนอง ลูกเห็บ




รังสีอัลตราไวโอเลตจากดวงอาทิตย์ 
 
         รังสีอัลตราไวโอเลตเป็นรังสีที่ทำอันตรายต่อมนุษย์ เช่น โรคต้อกระจก โรคภูมิแพ้ ผิวหนังที่ได้รับรังสีอัลตราไวโอเลตนาน ๆ อาจเป็นมะเร็งได้ ในบรรยากาศมีชั้น โอโซน (Ozone) ประกอบด้วยออกซิเจน 2 อะตอม (O+O) ชั้นโอโซนจะมีความหนาพอสมควร ทำหน้าที่รับรังสีอัลตราไวโอเลตไว้ รังสีที่เหลือลงมายังโลกมีเพียงส่วนน้อยไม่ทำอันตรายต่อมนุษย์

........สารคลอโรฟลูออโรคาร์บอน (Cholo Fluorocabons) หรือซีเอฟซี (CFC)เป็นสารที่มนุษย์ใช้เกี่ยวข้องกับเครื่องทำความเย็นและโฟม สารเฮลโรน (Halons) ซึ่งมีธาตุจำพวกคลอรีน (Cl) โบรมีน (Br) สารไนตรัสออกไซด์ สารเหล่านี้มนุษย์มีส่วนทำให้เกิดมากขึ้นในบรรยากาศ มีผลทำให้เกิดปฏิกิริยาทางเคมี ทำลายชั้นโอโซน ทำให้ชั้นโอโซนบางลงและเมื่อชั้นโอโซนบางลงทำให้รังสีอัลตราไวโอเลตทะลุผ่านมายังผิวโลกได้มาก ผลคืออุณหภูมิโลก ร้อนขึ้นจึงเกิดอันตรายต่อมนุษย์และสิ่งมีชีวิตอื่น ๆ



ดวงอาทิตย์เป็นแหล่งกำเนิดพลังงานที่สำคัญที่สุด......

          ดวงอาทิตย์เป็นแหล่งกำเนิดพลังงานทั้งทางตรงและทางอ้อม พลังงานที่ดวงอาทิตย์ให้กับโลกทางตรงคือ แสงสว่างซึ่งมีผลทำให้เกิดความร้อน สร้างความอบอุ่นให้กับโลก พลังงานทางอ้อมคือดวงอาทิตย์ทำให้สิ่งมีชีวิตดำรงชีพอยู่ได้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งพืชเจริญเติบโตโดยอาศัยการสังเคราะห์แสงจากแสงอาทิตย์ และมนุษย์ได้อาศัยพลังงานจากต้นไม้
ที่สำคัญ ๆ คือ ฟืน ถ่าน และเมื่อพืชและสัตว์ตายทับถมกันเป็นเวลานาน ๆ จะกลายเป็นถ่านหิน ปิโตรเลียม รวมทั้งการนำหลักการย่อยสลายของพืชมาทำเป็นก๊าซชีวภาพ....สำหรับตอนนี้จะกล่าวถึงเฉพาะพลังงานในทางตรงคือ ความร้อนและแสงสว่างที่มนุษย์นำมาใช้ประโยชน์ 
ดังรายละเอียดต่อไปนี้คือ

ดวงอาทิตย์ให้พลังงานแสงสว่างแก่โลกโดยการแผ่รังสี.....

         เมื่อวัตถุต่าง ๆ บนผิวโลกได้รับแสงจากดวงอาทิตย์ จะมีอุณหภูมิสูงขึ้นและกระจายความร้อนออกมา ซึ่งอยู่ในรูปของรังสีอินฟราเรด เราจึงรู้สึกร้อน ขณะที่แสงอาทิตย์เดินทางมาถึงเรา ส่วนหนึ่งของแสงอาทิตย์จะเดินทางผ่านบรรยากาศที่หุ้มห่อโลกและมาสู่ดิน ทั้งอากาศและน้ำ จะเป็นกับดักพลังงานความร้อน ต่อมา ดินและน้ำจะคายความร้อนให้อากาศ เราจึงรู้สึกร้อน อากาศจึงเป็นที่ดักความร้อนครั้งสุดท้ายของโลก



วัตถุต่าง ๆ บนผิวโลกจะมีคุณสมบัติในการรับความร้อนและคายความร้อนไม่เท่ากัน 

          ขึ้นอยู่กับระยะใกล้ ไกลจากดวงอาทิตย์ คือที่ตั้งทางภูมิศาสตร์ ได้แก่เขตหนาว เขตร้อน เขตอบอุ่น ระยะเวลา คือ เวลากลางวัน กลางคืน เนื้อของวัตถุ เช่น ดิน หิน น้ำ ฯลฯ จะรับความร้อนและคายความร้อนไม่เท่ากันทำให้เกิดลมบก ลมทะเล เป็นต้น นอกจากนั้น สีของวัตถุจะมีคุณสมบัติในการรับและคายความร้อนต่างกันอีกด้วย


มนุษย์สามารถประดิษฐ์อุปกรณ์ที่สามารถรวมพลังงานและให้มีความร้อน 
...........
          แสงจากดวงอาทิตย์จะเดินทางเป็นเส้นตรง เมื่อเดินทางผ่านตัวกลางบางชนิดจะรวมมากขึ้น และเรายังสามารถนำพลังมาใช้ประโยชน์ได้



เซลล์แสงอาทิตย์ (Solarcell) ....

          หรือเซลล์สุริยะทำด้วยสารประเภทกึ่งตัวนำพวกซิลิคอน เยอรมันเนียมหรือสารอื่น เมื่อแสงอาทิตย์กระทบสารกึ่งตัวนำเหล่านี้ อิเล็กตรอนในแผ่นซิลิคอนมีพลังงานเพิ่มขึ้น จนสามารถหลุดเป็นอิเล็กตรอนอิสระได้และเมื่ออิเล็กตรอนอิสระเคลื่อนไป ตามวงจรไฟฟ้าเกิดกระแสไฟฟ้านำไปใช้งานได้




การนำพลังงานจากดวงอาทิตย์มาใช้ประโยชน์ในชีวิตประจำวัน

          มนุษย์รู้จักนำพลังงานจากดวงอาทิตย์มาใช้ประโยชน์โดยตรงมาตั้งแต่สมัยโบราณคือใช้ในการตากผ้า ตากผลผลิตทางการเกษตรและอุตสาหกรรมทำนาเกลือ เป็นต้น

          ในสมัยปัจจุบันได้นำความรู้เกี่ยวกับพลังงานแสงอาทิตย์มาใช้ประโยชน์โดยใช้เทคโนโลยีและออกแบบเครื่องมือในการนำพลังงาน
แสงอาทิตย์มาใช้ประโยชน์ให้ได้มากที่สุด สำหรับประเทศไทยมีพื้นที่ประมาณ500,000ตารางกิโลเมตร ตั้งอยู่ในเขตใกล้เคียง
เส้นศูนย์สูตร หรืออยู่ในแถบร้อน...มีค่าพลังงานแสงอาทิตย์เฉลี่ยค่อนข้างสูงประมาณวันละ4.7กิโลวัตต์ชั่วโมงต่อตารางเมตรหากสามารถใช้พลังงานแสงอาทิตย์ที่ตกลงบนประเทศไทยเพียงร้อยละ 1 ของพื้นที่ทั้งหมดต่อปี...จะได้พลังงานเทียบเท่าน้ำมันดิบประมาณ 700 ล้านตัน...การค้นคว้าเพื่อนำพลังงานแสงอาทิตย์มาใช้แทนพลังงานเชื้อเพลิงอื่นซึ่งเป็นพลังงานที่
หมดไปจากโลกได้จึงมีความจำเป็นต้องวิจัยและพัฒนา.. เพื่อให้สามารถนำมาใช้งานให้ได้ต่อไป การนำพลังงานแสงอาทิตย์มาใช้ โดยการประดิษฐ์เครื่องมือต่าง ๆ เช่น การกลั่นน้ำด้วยแสงอาทิตย์ .การอบแห้งด้วยแสงอาทิตย์ .และการแปรรูปพลังงานแสงอาทิตย์มาเป็นพลังงานไฟฟ้าโดยตรงหรือที่เรียกว่าโซล่าเซลล์


การกลั่นน้ำด้วยแสงอาทิตย์ .....

          ทำงานโดยให้น้ำรับความร้อนจากแสงอาทิตย์ในถาดน้ำ 
จะใช้วัตถุสีดำ เช่น ขี้เถ้า แกลบ หรือทาสีดำ เพื่อเพิ่มการดูดกลืนพลังงานความร้อน จะทำให้ การระเหยน้ำในถาดนี้จะระเหยได้เร็วมากเมื่อน้ำกลายเป็นไอระเหยเกาะแผ่นกระจกใสแล้วเกาะ 
เป็นหยดน้ำ เมื่อปริมาณมากเข้า จะไหลลงไปในที่รองรับปกติระบบกลั่นน้ำนี้จะผลิตน้ำร้อนได้ ประมาณ 2-3 ลิตร ต่อตารางเมตรต่อวัน ณ ความเข้มแสงอาทิตย์โดยเฉลี่ยปกติ


ประโยชน์

.............น้ำกลั่นนี้ใช้นำไปใส่แบตเตอรี่รถยนต์ รถมอเตอร์ไซด์ หรืออื่นๆ ที่ใช้น้ำกลั่นได้


การอบแห้งด้วยแสงอาทิตย์ 

ใช้ระบบเดียวกับการกลั่นน้ำด้วยแสงอาทิตย์ คือมีพื้นทาสีดำ 
อากาศที่ไหลเข้ามาจะร้อนและลอยตัวผ่านผลิตผลที่นำมาอบให้แห้ง อากาศที่ร้อนจะพาความชื้น จากพืชผลออกไปที่ปล่องด้านบน เมื่ออากาศร้อนไหลออกไปจะเกิดช่องว่าง อากาศภายนอกจะไหล เข้ามาแทนที่วนเวียนเช่นนี้ 

ประโยชน

          ใช้อบผลิตผลทางการเกษตร เช่น กล้วยตาก พริก ถั่ว ข้าวโพด และอบไม้ ฯลฯ เป็นต้น


เตาแสงอาทิตย์ ........
         
          ใช้หลักการรวมแสงอาทิตย์ด้วยกระจกโค้งรับแสงอาทิตย์จากนั้นจึงปรุงอาหารบนกระจกโค้ง 
ตรงจุดรวมแสงอาทิตย์ 

ประโยชน์ 

          ใช้แทนเตาหุงต้ม โซล่าเซลล์กระแสไฟฟ้าที่ได้จากเซลล์แสงอาทิตย์แต่ละเซลล์มีค่า ไม่มากนัก จึงนิยมนำมาใช้กับอุปกรณ์ที่ใช้ไฟฟ้า ไม่มากนัก เช่น เครื่องคิดเลข นาฬิกาข้อมือ เป็นต้น หากต้องการพลังงานจากเซลล์แสงอาทิตย์จำนวนมากต้องนำเซลล์แสงอาทิตย์มาต่อกันเป็นจำนวนมากทีเดียว จึงสามารถนำมาใช้ได้ในไฟฟ้าในครัวเรือน ไฟฟ้าสื่อสาร ใช้สูบน้ำ ฯลฯ เป็นต้น การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย 
ได้นำเซลล์แสงอาทิตย์มาใช้งานหลายแห่งคือ ที่คลองช่องกล่ำ อำเภอวัฒนานคร จังหวัดปราจีนบุรี นำมาใช้ผลิต กระแสไฟฟ้าในครัวเรือนโดยใช้ร่วมกับโรงไฟฟ้าพลังงานน้ำ ที่ควนพรหมเทพ จังหวัดภูเก็ต นำมาใช้ผลิต
กระแสไฟฟ้าร่วมกับกังหันลม ที่หมู่บ้านสหกรณ์อำเภอสันกำแพง จังหวัดเชียงใหม่ ได้นำมาใช้ผลิตกระแส ไฟฟ้าร่วมกับเครื่องยนต์ดีเซลล์ ที่สถานีทวนสัญญาณจองคร่อง อำเภอศรีสวัสดิ์ จังหวัดกาญจนบุรี 
ที่สถานีทวนสัญญาณ เขาฟ้าผ่า อำเภอปากช่อง จังหวัดนครราชสีมา ที่อ่างเก็บน้ำ โรงไฟฟ้า จังหวัดกระบี่ ที่สถานีทวนสัญญาณบ้านนาแก้ว จังหวัดกระบี่ ได้นำเซลล์ไฟฟ้ามาใช้ในไฟฟ้าสื่อสาร ที่หน้าพระตำหนัก 
เขื่อนภูมิพล จังหวัดตากได้นำมาใช้ในโคมไฟฟ้า 5 ตัน และที่ เขื่อนอุบลรัตน์ จังหวัดขอนแก่น ได้นำมาใช้สาธิตการผลิตไฟฟ้าสำหรับแสงสว่างและปั้มนำพุ

s

ขอขอบคุณเนื้อหาและรูปภาพ

http://dnfe5.nfe.go.th/ilp/sunshine/SUN-1.htm
ความคิดเห็นของผู้เข้าชม
ชื่อผู้แสดงความคิดเห็น :
สถานะ : รหัสผ่าน :
ลิงค์ที่เกี่ยวข้อง :
รหัสความปลอดภัย :