สถิติ
เปิดเมื่อ13/09/2012
อัพเดท27/02/2013
ผู้เข้าชม7392
แสดงหน้า8710
บทความ
stop teen mom
ประวัติส่วนตัว
คำอธิบายรายวิชา ง22102
วิธีการทำเว็บ
1. ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับการประชาสัมพันธ์
2.ประวัติความเป็นมาของประชาสัมพันธ์
3.หลักการและวัตถุประสงค์ของการประชาสัมพันธ์
4.การประชาสัมพันธ์กับการโฆษณา
5.ขั้นตอนการดำเนินงานประชาสัมพันธ์
6. หน่วยงานประชาสัมพันธ์
7 .สื่อการประชาสัมพันธ์
8 . การประเมินผลการประชาสัมพันธ์
9 .คุณสมบัติของนักประชาสัมพันธ์
10 . ฝึกปฏิบัติงานประชาสัมพันธ์
1. ธรรมชาติและเทคโนโลยี
บทที่ 1 ธรรมชาติและเทคโนโลยี
บทที่ 2 กระบวนการเทคโนโลยี
บทที่3 การออกแบบและเทคโนโลยี
บทที่ 4 เรื่อง พลังงานการหมุนเวียน
บทที่ 5 4R กับการลดการใช้พลังงาน
บทที่ 6 โครงงานเทคโนโลยี
ปฎิทิน
May 2024
Sun Mon Tue Wed Thu Fri Sat
   
1
2
3
4
5
6
7
8
9
10
11
12
13
14
15
16
17
18
19
20
21
22
23
24
25
26
27
28
29
30
31
 




2.ประวัติความเป็นมาของประชาสัมพันธ์

อ่าน 142 | ตอบ 0
กลุ่มสาระการเรียนรู้  การงานอาชีพและเทคโนโลยี    
 รหัสวิชา ง  20220       ชื่อวิชา  การประชาสัมพันธ์    

ช่วงชั้นที่  3  ชั้นปีที่  1 - 3   
ครูผู้สอน ดรุณี   กันธมาลา
โรงเรียนยุพราชวิทยาลัย  จังหวัดเชียงใหม่    
 
สาระที่  4  การอาชีพ
มาตรฐาน ง 4.1  เข้าใจ มีทักษะที่จำเป็น  มีประสบการณ์  เห็นแนวทางในงานอาชีพ  ใช้เทคโนโลยีเพื่อพัฒนาอาชีพ  มีคุณธรรม และมีเจตคติที่ดีต่ออาชีพ
ตัวชี้วัด  ข้อที่ 1  อธิบายแนวทางการเลือกอาชีพ
 
หน่วยการเรียนที่ 2   เรื่อง  ประวัติความเป็นมาของการประชาสัมพันธ์      
 
  ผลการเรียนรู้ที่คาดหวัง
             เพื่อให้มีความรู้ความเข้าใจและนำทักษะเกี่ยวกับงานประชาสัมพันธ์ไปใช้ในการประชาสัมพันธ์ได้   จัดทำสื่อสำหรับการประชาสัมพันธ์แบบง่าย  ๆ  ตลอดจนสามารถปฏิบัติงานประชาสัมพันธ์ในหน่วยงานต่าง ๆ ได้ มีเจตคติที่ดีในการทำงาน รักชาติศาสน์กษัตริย์ ซื่อสัตย์สุจริต มีวินัยใฝ่เรียนรู้อยู่อย่างพอเพียง มุ่งมั่นในการทำงาน รักความเป็นไทย มีจิตสาธารณะ    และทำงานร่วมกับผู้อื่นได้อย่างมีความสุข
 
จุดประสงค์การเรียนรู้
             ด้านความรู้ (K) เพื่อให้นักเรียนสามารถ
1.    บอกความเป็นมาและวิวัฒนาการของการประชาสัมพันธ์ในประเทศไทยได้  
2.    บอกความเป็นมาและวิวัฒนาการของการประชาสัมพันธ์ในต่างประเทศได้
3.    เปรียบเทียบพัฒนาการของการประชาสัมพันธ์ในอดีตและปัจจุบันได้
             ด้านเจตคติ  ด้านคุณธรรม    จริยธรรม  และค่านิยมอันพึงประสงค์ (A)  เพื่อให้นักเรียนสามารถ
              1.     มีค่านิยมพื้นฐาน   5   ประการ  (ง 2.1)
              2.     มีคุณธรรมรักชาติศาสน์กษัตริย์ ซื่อสัตย์สุจริต มีวินัยใฝ่เรียนรู้อยู่อย่างพอเพียง มุ่งมั่นในการทำงาน รักความเป็นไทย มีจิตสาธารณะ    
              3.      มีเจตคติที่ดีต่ออาชีพสุจริต    และ ทำงานร่วมกับผู้อื่นได้อย่างมีความสุข
ด้านทักษะและกระบวนการ (P) เพื่อให้นักเรียนสามารถ
1.    มีความรู้ความเข้าใจในเรื่องความเป็นมาและวิวัฒนาของการประชาสัมพันธ์
2.    ทำกิจกรรมกลุ่มร่วมกันได้อย่างมีประสิทธิภาพ
              3.    สามารถนำทักษะเกี่ยวกับงานประชาสัมพันธ์ไปใช้ในชีวิตประจำวันได้
              สมรรถนะสำคัญของผู้เรียน
           มุ่งพัฒนาผู้เรียนให้เกิดสมรรถนะสำคัญ 5 ประการ ดังนี้
1.   ความสามารถในการสื่อสาร  
2.   ความสามารถในการคิด
3.   ความสามารถในการแก้ปัญหา
4.   ความสามารถในการใช้ทักษะชีวิต   
5.   ความสามารถในการใช้เทคโนโลยี

ประวัติความเป็นมา 


 

        ความคิดที่จะให้รัฐบาลจัดตั้งสภาวิจัยแห่งชาติ มีมาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2477 แต่มิได้รับการสนับสนุนจากรัฐบาลในสมัยนั้น ต่อมาได้มีผู้เล็งเห็นความสำคัญของการวิจัย และได้ พยายามร่างโครงการเสนอความเห็นต่อรัฐบาลอีก จนกระทั่งปี พ.ศ. 2499 รัฐบาลได้ประกาศใช้พระราชบัญญัติสภาวิจัยแห่งชาติฉบับแรก โดยแต่งตั้งอธิบดี กรมวิทยาศาสตร์ เป็นเลขาธิการสภาวิจัยแห่งชาติโดยตำแหน่ง และตั้งสำนักงานเลขาธิการสภาวิจัยแห่งชาติขึ้นที่กรมวิทยาศาสตร์เป็น การชั่วคราวพร้อมทั้งได้กำหนดสาขาวิชาการที่จะวิจัยไว้เฉพาะ ด้านวิทยาศาสตร์โดยแบ่งออกเป็น 6 สาขา ได้แก่ สาขาวิทยาศาสตร์กายภาพและคณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์การแพทย์ เคมีและเภสัช วิทยาศาสตร์ชีวภาพ เกษตรศาสตร์และวนศาสตร์ และสาขาวิศวกรรมศาสตร์และอุตสาหกรรม

       ปี พ.ศ. 2502 รัฐบาลโดย ฯพณฯ จอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ เป็น นายกรัฐมนตรี ได้เห็นว่าการที่จะพัฒนาประเทศให้เจริญรวดเร็วและสมบูรณ์จริง ๆ จะต้องเร่งรัดพัฒนาทุกด้าน โดยเฉพาะประเทศที่กำลังพัฒนาเช่นประเทศไทยจะต้องอาศัย วิชาการทางด้านสังคมซึ่งเกี่ยวกับชีวิตจิตใจ ประเพณีนิยม และความคิดเห็นต่าง ๆ เพื่อเป็นพื้นฐานที่จะวางนโยบาย พัฒนาประเทศเสียก่อน จึงจะยกระดับทางวัตถุหรือวิทยาศาสตร์ให้ได้ผลแท้จริงต่อไป และได้ประกาศใช้พระราชบัญญัติสภาวิจัยแห่งชาติ พ.ศ. 2502 แทนพระราชบัญญัติสภาวิจัยแห่งชาติ พ.ศ. 2499 พร้อมทั้งจัดระบบงานและองค์ประกอบของสภาวิจัยแห่งชาติใหม่ โดยให้มี 'สำนักงานสภาวิจัยแห่งชาติ' ปฏิบัติงานให้กับสภาวิจัยแห่งชาติ และเป็นหน่วยงานใน สังกัดสำนักนายกรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 28 ตุลาคม 2502 โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อให้ทำหน้าที่เป็นองค์กรกลางเกี่ยวกับการวิจัยของ ประเทศ

       ในปี พ.ศ. 2507 ได้มีการประกาศใช้พระราชบัญญัติสภาวิจัยแห่งชาติ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2507 ซึ่งเป็นพระราชบัญญัติที่แก้ไขเพิ่มเติมพระราชบัญญัติสภาวิจัยแห่งชาติ พ.ศ. 2502 เพื่อกำหนดหน้าที่ของสภาวิจัยแห่งชาติและ สำนักงานสภาวิจัยแห่งชาติให้เหมาะสมยิ่งขึ้น

       ในปี พ.ศ. 2515 ได้มีประกาศของคณะปฏิวัติฉบับที่ 315 ลงวันที่ 13 ธันวาคม พ.ศ. 2515 แก้ไขพระราชบัญญัติสภาวิจัยแห่งชาติ พ.ศ. 2507 โดยมีการเปลี่ยนชื่อ 'สำนักงานสภาวิจัยแห่งชาติ' เป็น 'สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ'

       ใน ปี พ.ศ. 2522 เมื่อวันที่ 24 มีนาคม สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ ได้โอนไปอยู่ในสังกัดกระทรวงวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและการพลังงาน (ภายหลังได้เปลี่ยน ชื่อเป็น 'กระทรวงวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีและสิ่งแวดล้อม' เมื่อวันที่ 23 มีนาคม 2535)

       ใน ปี พ.ศ. 2543 เมื่อวันที่ 5 ธันวาคม สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ ได้โอนไปอยู่ในบังคับบัญชาของนายกรัฐมนตรี โดยมีฐานะเป็นกรม ซึ่งไม่สังกัด สำนักนายกรัฐมนตรี กระทรวง หรือทบวง ด้วยเหตุผลที่ว่าเพื่อให้ สำนักงานฯ ได้มีบทบาทเป็นหน่วยงานกลางในการทำหน้าที่เสนอแนะนโยบายและแผนการวิจัยทั้ง ด้านวิทยาศาสตร์และสังคมศาสตร์ได้อย่างแท้จริง ตามกฎหมายว่าด้วยสภาวิจัยแห่งชาติ รวมทั้งสามารถให้คำปรึกษารัฐบาลเกี่ยวกับกิจกรรมต่างๆ เกี่ยวกับการวิจัยได้โดยรวดเร็วและทันต่อเหตุการณ์ อีกทั้งเพื่อ ให้สำนักงานฯ ได้อยู่ใน สายการบังคับบัญชาเดียว คือ ขึ้นตรงกับประธานสภาวิจัยแห่งชาติ (นายกรัฐมนตรี) ซึ่งตามพระราชบัญญัติสภาวิจัยแห่งชาติได้ระบุให้มีอำนาจหน้าที่ในการกำหนด นโยบาย การทำงานของสำนักงานฯ อยู่แล้ว

............................................................................

คำกล่าวเปิดประชุมสภาวิจัยแห่งชาติของ จอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์

23 ธันวาคม 2502

ท่านกรรมการและท่านที่ปรึกษาสภาวิจัยแห่งชาติ

       เป็นความปิติยินดีอีกครั้งหนึ่งของข้าพเจ้า ที่ก่อตั้งสถาบันสำคัญของชาติขึ้นได้อีกเรื่องหนึ่ง และเริ่มประชุมเป็นครั้งแรกในวันนี้ ทุกท่านซึ่งประชุมอยู่ในที่นี้ ล้วนเป็นผู้ทรงคุณวิชาอย่างสูง ซึ่งคณะรัฐมนตรีได้เลือกสรรมาประกอบขึ้นเป็นสภาวิจัยแห่งชาติ มีกรรมการสภาและกรรมการบริหารรวมทั้งหมด 115 คน ดูเป็นจำนวนใหญ่มาก แต่พระราชบัญญัติสภาวิจัยแห่งชาติได้แบ่งสาขาวิชาออกเป็น 10 สาขา คิดเฉลี่ยจำนวนกรรมการได้เพียงสาขาละ 11 คนเท่านั้น แต่ละสาขายังมีประเภทวิชาแยกออกไปอีก ซึ่งเมื่อคิดถึงจำนวนสาขาและประเภทวิชาแล้ว จำนวนกรรมการที่ตั้งมา 115 คนนี้ ก็ไม่มากเลย

       โดยที่สภาวิจัยแห่งชาติเป็นของใหม่สำหรับประเทศไทย จึงจำเป็นต้องอธิบายจุดประสงค์พอสมควร เรามีสถาบันชั้นสูงทางวิชาการอยู่แห่งหนึ่งแล้วคือ ราชบัณฑิตยสถานทำงานสร้างพจนานุกรม และเอนไซโคลปีเดียประจำชาติ ซึ่งเราเรียกว่า 'สารานุกรม' เป็นงานมหาศาล สำหรับพจนานุกรมภาษาไทยนั้น แม้จะได้พิมพ์ออกแล้ว ก็ยังจะต้องแก้ไขปรับปรุงให้มีมาตรฐานและคุณภาพสูงยิ่งขึ้นไป ส่วนงานสร้างสารานุกรมหรือเอนไซโคลปีเดีย นั้น คำนวณกันว่า ด้วยกำลังเงิน กำลังงาน และวิธีการ อย่างที่ทำมาแล้ว จะต้องใช้เวลาอีกถึง 40 ปี งานนี้จึงจะสำเร็จเสร็จสิ้น แสดงว่าราชบัณฑิตยสถานก็มีงานเต็มมือ เต็มกำลังอยู่แล้ว ส่วนสภาวิจัยที่ตั้งขึ้นใหม่นี้ จะทำงานไปอีกทางหนึ่ง คืองานของสภาวิจัยเป็นเรื่องเฉพาะหน้าสัมพันธ์กับแผนการเศรษฐกิจ เกี่ยวเนื่องกับการปฏิวัติปรับปรุงทุกสิ่งทุกอย่างซึ่งข้าพเจ้าจะได้อธิบาย ในภายหลัง แต่ขอให้เป็นที่เข้าใจว่างานราชบัณฑิตยสถานกับงานสภาวิจัยแห่งชาตินั้นไม่ ซ้ำกันในบางประเทศ เช่น ฝรั่งเศส ซึ่งมีราชบัณฑิตยสถานดียิ่งอยู่แล้ว ยังมีสภาวิจัยทำหน้าที่อย่างสภาวิจัยของเรา ข้าพเจ้าเองก็ห่วงใยงานของราชบัณฑิตยสถาน โดยเฉพาะการมี สารานุกรมหรือเอนไซโคลปีเดียประจำชาตินั้น เป็นการแสดงความเจริญก้าวหน้าอย่างสำคัญของชาติและจะเป็นการเผื่อแผ่ให้ ประเทศใกล้เคียงได้ใช้ด้วยกัน ข้าพเจ้าจึงคิดอยู่ เหมือนกันว่าจะหาวิถีทางช่วยให้งานนี้สำเร็จเร็วขึ้นอาจจะเอาวิธีการอย่าง ต่างประเทศมาใช้ เช่น แบ่งงานให้มหาวิทยาลัยต่างๆ ช่วยทำ หาทางเผยแพร่งานที่สำเร็จให้ใช้ประโยชน์ได้เป็นขั้นเป็นตอน โดยไม่ต้องรอคอยจนกว่าจะสำเร็จสมบูรณ์จริงๆ และ ยิ่งกว่านั้น งานที่สภาวิจัยแห่งชาติของเราจะทำขึ้นเป็นชิ้นเป็นอันในกาลข้างหน้าข้าพเจ้า ก็มีแผนการอยู่ว่า เรื่องใดจะเป็นประโยชน์แก่งานสารานุกรม ก็จะส่งให้ราชบัณฑิตยสถานทุกเรื่องไป เป็นการช่วยงานกันไปในตัวโดยวิธีนี้ เราอาจจะได้เห็นความสำเร็จแห่งการสร้างสารานุกรม หรือเอนไซโคลปีเดียประจำชาติในอีก 10 ปีข้างหน้า หรือก่อนนั้นโดยไม่ต้องรอคอยตั้ง 40 ปี อย่างที่คำนวณกันไว้

       การตั้งสภาวิจัยแห่งชาตินั้น เกิดจากความคิดที่ว่า รัฐบาลนี้ไม่ประสงค์จะทำอะไรโดยไม่พินิจพิเคราะห์ให้รอบคอบและการพินิจ พิเคราะห์นั้นจะต้องทำโดยทางวิชาการ แม้การวางแนวนโยบายของรัฐบาลในระยะยาวแต่ละเรื่องก็อยากจะให้ผู้รอบรู้ทาง วิชาการ ได้วิจัยเสนอข้อคิดประกอบความดำริของคณะรัฐมนตรีเท่าที่สามารถจะทำได้รวม ความว่าเป็นเจตนาของรัฐบาล ที่จะทำการทุกอย่างด้วยความรอบคอบที่สุด

       สำหรับการก่อตั้งสภาวิจัยแห่งชาติข้าพเจ้าก็พยายามจะให้มีรูปร่างเหมือนสภา พัฒนาการเศรษฐกิจ และสภาการศึกษาแห่งชาติที่ตั้งมาแล้ว โดยนายกรัฐมนตรีเป็นประธานสภา และรองนายกรัฐมนตรีเป็นรองประธาน มีกรรมการประกอบขึ้นเป็นสภามีคณะกรรมการบริหารทำหน้าที่บริหาร และรัฐมนตรีทุกกระทรวงเป็นที่ปรึกษา แต่ก็เป็นธรรมดาที่จะให้เหมือนกันไปทุกอย่างไม่ได้เรื่องพิเศษในสภาวิจัย แห่งชาตินั้น คือคณะรัฐมนตรีไม่มีอำนาจตั้งกรรมการบริหารทั้งคณะเหมือน 2 สภาที่กล่าวนามมาแล้ว คณะรัฐมนตรีตั้งกรรมการบริหารสภาวิจัยแห่งชาติได้ไม่เกิน 5 คน นอกจากนั้นสภาต้องตั้งกรรมการประจำสาขาวิชา กรรมการแต่ละสาขาเลือกประธานสาขาแล้วประธานสาขานั้นก็เข้ามาร่วมเป็นกรรมการ บริหารทันที กฎหมายบัญญัติ วิธีการเป็นพิเศษอย่างนี้โดยถือว่าการเลือกตัวบุคคลตั้งเป็นคณะกรรมการสาขา ก็ดี การตั้งประธานสาขาวิชาก็ดีเป็นเรื่องวิชาการแท้ ถึงควรให้สภาแต่งตั้งเองตามที่เห็นว่าเหมาะสม แต่รัฐบาลก็พยายามให้ความสะดวกแก่สภาในเรื่องนี้โดยทำบัญชีมาให้อีกบัญชี หนึ่ง แจ้งวิทยฐานะ และแบ่งแยกมาให้ตามสาขา บัญชีนี้ได้ส่งให้แก่ท่านทั้งหลายพร้อมกับระเบียบวาระการประชุมด้วยแล้ว

      หน้าที่ของสภาวิจัยแห่งชาติมีจำแนกไว้ในมาตรา 6 แห่งพระราชบัญญัติ ซึ่งสรุปรวมความไว้เป็น 2 ทาง ทางหนึ่งคือริเริ่มทำการวิจัยเองแล้วเสนอแนะแนวนโยบายต่อคณะรัฐมนตรี อีกทางหนึ่งคือทำการวิจัยตามที่คณะรัฐมนตรีจะส่งเรื่องมาให้ส่วนวิธีทำงาน วิจัยก็มี 2 ทางเหมือนกัน ทางหนึ่งคือทำการวิจัยเองภายในสาขาวิชา หรืออีกทางหนึ่งจะส่งเสริมหรือมอบหมายให้ผู้อื่นทำการวิจัยก็ได้ การที่จะทำงานให้ได้ผลจริงจังตามหน้าที่ที่บัญญัติไว้ในมาตรา 6 นี้ จะต้องมีทุน จึงได้มีบทบัญญัติใน อนุมาตรา (9) ให้สภานี้พิจารณาหาทุนบำรุงการวิจัย และเสนอแนะรัฐบาลให้ได้มาซึ่งทุนเพื่อการวิจัย อนึ่ง ในการปฏิบัติหน้าที่ต่างๆ ที่ระบุไว้ในมาตรา 6 นี้ จะต้องตั้งอนุกรรมการขึ้นเป็นเรื่องๆ โดยอาศัยบทบัญญัติตามความในมาตรา 22 ซึ่งคณะกรรมการ บริหารจะได้เสนอแต่งตั้งในภายหลัง

       เกี่ยวกับสาขาวิชาต่างๆ ความในมาตรา 4 แบ่งออกเป็น 2 ฝ่าย คือ ฝ่ายวิทยาศาสตร์และฝ่ายสังคมศาสตร์ มาตรา 17 ได้จำแนกออกเป็นฝ่ายละ 5 สาขา ตั้งแต่ (1) ถึง (5) เป็นฝ่ายวิทยาศาสตร์และตั้งแต่ (6) ถึง (10) เป็นฝ่ายสังคมศาสตร์ การแบ่งวิชาออกเป็น 2 ฝ่ายอย่างนี้ ทำให้สภาวิจัยแห่งชาติมีวิธีการผิดแปลกกับสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสภาการ ศึกษา อีกอย่างหนึ่ง คือ ใน 2 สภานั้น มีเลขาธิการแต่ผู้เดียว แต่ในสภาวิจัยแห่งชาติต้องมีเลขาธิการและผู้ช่วยเลขาธิการอีก 2 คน คนหนึ่งทำหน้าที่ฝ่ายวิทยาศาสตร์ อีกคนหนึ่งทำหน้าที่ฝ่ายสังคมศาสตร์และเลขาธิการเป็นผู้บังคับบัญชางานทั่ว ไป

       ส่วนงานที่จะส่งให้แก่สาขาต่างๆ นั้น สำหรับฝ่ายวิทยาศาสตร์ทั้ง 5 สาขา มีงานคอยอยู่มากแล้ว ทางสภาพัฒนาการเศรษฐกิจทางกระทรวงทบวงการต่างๆ ทางมหาวิทยาลัยทั้งหลายและทางกรมวิทยาศาสตร์เองก็มีงานที่จะมอบให้มาก ข้าพเจ้าไม่จำเป็นต้องระบุในที่นี้ แต่ทางฝ่ายสังคมศาสตร์อีก 5 สาขานั้น ข้าพเจ้ามีเรื่องจะกล่าวบ้างเล็กน้อยคือ

       ในสาขาที่ 6 คือ ปรัชญา ข้าพเจ้าอยากจะให้ค้นคว้าในปัญหาเยาวชนเป็นเรื่องแรก เริ่ม แต่จิตวิทยาของเด็ก (Child Psychology) ตั้งแต่เด็กแรกเกิดมาจนเติบโตขึ้นเป็นลำดับ ซึ่งข้าพเจ้าเข้าใจว่ามีตำรับตำราที่จะค้นคว้าได้มากแต่เด็กไทยอาจไม่ เหมือนเด็กชาติอื่น จะอาศัยแต่ตำรับตำราอย่างเดียวหาได้ไม่เราจึงต้องทำการค้นคว้ากันใหม่เป็น พิเศษ เรื่องเยาวชนเป็นปัญหาสำคัญอันหนึ่งของการปฏิวัติเพราะการปฏิวัติที่ยิ่ง ใหญ่ที่สุดคือการปฏิวัติคน และการปฏิวัติคนนั้น จะต้องเริ่มต้นตั้งแต่เกิดมา ขอให้สาขาปรัชญาทำงานเรื่องนี้ก่อนอย่างน้อยขอให้ได้ผลงานเป็นหนังสือคู่มือ ที่บิดา มารดา ครู อาจารย์ และผู้ปกครองเยาวชนจะใช้สอนอบรม ควบคุมพัฒนาจิตใจและมันสมองของเด็กไปในทางที่ดี จะเป็นงานสร้างชาติชิ้นสำคัญชิ้นหนึ่ง

       ในสาขาที่ 7 คือ นิติศาสตร์ นั้น อันที่จริงเรามีสถาบันเกี่ยวกับกฎหมายอยู่หลายแห่งแล้วเช่น คณะกรรมการกฤษฎีกา และคณะที่ปรึกษากฎหมายของนายกรัฐมนตรี ซึ่งทำงานเกี่ยวกับปัญหาเฉพาะหน้าเหมือนกันแต่ก็ยังมีงานอีกหลายอย่าง ซึ่งไม่อยู่ใน หน้าที่ของคณะทั้งสองนั้น และข้าพเจ้าอยากจะขอฝากแก่สาขานิติศาสตร์ไว้สัก 2-3 เรื่อง คือ

       (1) การสังคายนากฎหมาย ข้าพเจ้าหมายถึงกฎหมายที่สลับซับซ้อน แก้แล้วแก้เล่าตั้งหลายครั้งหลายหนจนกระทั่งมีฉบับที่ 5 ที่ 6 แล้ว ฉบับแรกก็ยังอยู่ เป็นการยากลำบากแก่การค้นการศึกษาหรือการรู้หน้าที่ของพลเมืองที่จะต้อง ปฏิบัติตามกฎหมาย เพราะต้องอ่านจากทางโน้นทางนี้ อะไรเลิกไป อะไรยังอยู่ เป็นความยุ่งยากอย่างเหลือเกิน กฎหมายสันนิษฐานว่า คนทุกคนต้องรู้กฎหมายอย่าว่าแต่คนทั่วไปข้าพเจ้าทราบว่าแม้นักกฎหมายเองก็ ยังได้รับความลำบากในเรื่องนี้มากเหมือนกันข้าพเจ้าจึงขอฝากไว้ว่า พวกกฎหมายที่สลับซับซ้อน แก้กันหลายครั้งหลายหน ต้องอ่านจากหลายฉบับนั้นขอให้สังคายนา ยกร่างใหม่ ทำให้เป็นฉบับเดียวกัน จะแก้ไขอะไรใหม่หรือคงทำหลักเดิมไว้ก็สุดแต่จะพิจารณาเห็นสมควรแต่ขอให้เป็น การง่ายแก่การศึกษาและการรู้หน้าที่ของ พลเมือง

       (2) ขอให้ช่วยตรวจพิจารณากฎหมายของเรา ว่ามีอะไรบ้างที่พ้นสมัย ควรจะยกเลิกไปเสียทีเดียวหรือควรจะยกร่างทำใหม่ ก็ขอให้ช่วยทำ

       (3) ติดตามดูการออกกฎหมายใหม่ ๆ ในนานาประเทศ ถ้าพบเรื่องใดที่เป็นความคิดดีความคิดใหม่ก็ลองพิจารณาว่าจะควรนำมาใช้ใน ประเทศเราเพียงใดหรือไม่

       ในสาขาที่ 8 คือ รัฐศาสตร์และรัฐประศาสนศาสตร์ นั้น ข้าพเจ้าอยากจะเรียกสั้นๆ ว่าการเมืองนอกจากเรื่องที่คณะรัฐมนตรีจะส่งมาให้วิจัยเป็นเรื่องๆไปแล้ว ข้าพเจ้าใคร่จะร้องขอให้สาขานี้พยายามติดตามและวิจัยการเมืองทั้งภายนอกและ ภายในของ ประเทศต่างๆ เรามีเจ้าหน้าที่หลายทางที่จะให้เครื่องมือแก่ท่านในเรื่องนี้ เช่น กรมประมวลข่าวกลาง คณะที่ปรึกษาการข่าวของนายกรัฐมนตรี และกรมประชาสัมพันธ์ ซึ่งรวมข่าวประจำวันข้าพเจ้าจะให้ส่งข่าวสารและบทความ ซึ่งเจ้าหน้าที่เหล่านี้ทำขึ้น เพื่อขอให้สาขานี้วิจัยโดยเฉพาะอย่างยิ่งในเรื่องการเมืองต่างประเทศ

       ในสาขาที่ 9 คือ เศรษฐศาสตร์ สาขานี้ก็เหมือนกัน มีสภาพัฒนาการเศรษฐกิจอยู่แล้ว และยังมีที่ปรึกษาเศรษฐกิจของนายกรัฐมนตรีแต่งานทางเศรษฐกิจก็มีมาก สภาพัฒนาการเศรษฐกิจต้องทำแผนและโครงการเศรษฐกิจ คณะที่ปรึกษาเศรษฐกิจ ของนายกรัฐมนตรีต้องทำงานในปัญหาต่างๆ ที่นายกรัฐมนตรีจะส่งไปปรึกษา งานสำคัญอีกเรื่องหนึ่งซึ่งยังไม่มีใครทำคือการติดตามดูความเคลื่อนไหวทาง เศรษฐกิจของต่างประเทศ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ประเทศใกล้เคียงกับไทย แล้ววิจัยความเคลื่อนไหว เหล่านั้น เพื่อประกอบการพิจารณาของรัฐบาล ตัวอย่างที่เกิดขึ้นเมื่อเร็วๆ นี้เอง คือ ประเทศหนึ่งทำการเปลี่ยนแปลงอย่างสำคัญในระบบเงินตรา ถึงกับประกาศให้ธนบัตรใบละพันมีค่าเพียงใบละร้อย เนื่องจากมูลเหตุอันใด ทำอย่างนั้นเพื่อประสงค์อะไร และจะ เกิดผลอย่างไรต่อไปการวิจัยปัญหาอย่างนี้ยังไม่มีใครทำ ข้าพเจ้าจึงขอมอบไว้เป็นหน้าที่ของสาขาเศรษฐศาสตร์ที่จะคอยติดตามความ เคลื่อนไหวทางเศรษฐกิจของนานาชาติ เพราะเรื่องเศรษฐกิจนั้นเมื่อมีเรื่องสำคัญเกิดขึ้นในประเทศหนึ่ง ก็อาจจะกระทบ ถึงประเทศอื่นๆ ต่อไปได้ข้าพเจ้าจะให้กรมประมวลข่าวกลาง คณะที่ปรึกษาการข่าว และกรมประชาสัมพันธ์ ส่งข่าวสารที่ทำขึ้นเป็นวันๆ หรือเป็นระยะๆ ให้แก่สาขานี้ และกรรมการสาขานี้เองก็ควรหาทางติดตามข่าวความเป็นไปอีกทางหนึ่งด้วย

       ในสาขาที่ 10 คือ สังคมวิทยา เป็นงานที่กว้างใหญ่ไพศาล เพราะลักษณะวิชาครอบคลุมไปถึงมนุษยวิทยา (Anthropology) และอื่นๆ ด้วย แต่ในชั้นต้นนี้ ข้าพเจ้ายังจะไม่ขอร้องให้ท่านทำงานกว้างขวางถึงปานนั้น ข้าพเจ้าปรารถนาให้เริ่มงาน ส่วนที่เกี่ยวกับปัญหาเศรษฐกิจก่อน หน้าที่ของสาขาสังคมวิทยาคือค้นคว้าเกี่ยวกับเรื่องของคนโดยตรง เช่น ว่าเหตุใดพลเมืองของเราจึงยังย่อหย่อนความขยันขันแข็ง มีรายได้คิดเป็นรายตัวพลเมือง (per capita) ยังต่ำมาก มีการออมทรัพย์น้อยเต็มทีมีความผิดพลาด บกพร่องหรืออิทธิพลร้ายอันใดอยู่ในสังคมของเรา ที่ทำให้คนของเราเป็นเช่นนี้ เราจะแก้ไขความผิดพลาดบกพร่องหรือขจัดอิทธิผลร้ายเหล่านั้นได้อย่างไร จารีตประเพณีบางประการที่ทำความหมดเปลืองเหลือหลาย เช่นการใช้จ่ายในการ สมรสและฌาปนกิจ จะควรแก้ไขอย่างไรหรือไม่ การยกระดับการครองชีพของประชาชน และการส่งเสริมเกษตรกรรมและอุตสาหกรรมนั้น เราควรจะขยายการอุปโภคบริโภค (Expansion of consumption) หรือหาทางจูงใจให้พลเมืองของเรา เพิ่มพูนความต้องการในชีวิตขึ้นเพียงไร และในที่สุดเราควรจะสร้างสังคมใหม่ของไทยเราในรูปไหน เพราะจุดประสงค์ที่ยิ่งใหญ่อันหนึ่งของการปฏิวัติครั้งนี้ คือสร้างสังคมใหม่ให้ดีกว่าสังคมเก่า จึงจะเป็นการปฏิวัติอย่างแท้จริง แต่การสร้างสังคมใหม่นี้ เราจะต้องพินิจพิเคราะห์อย่างรอบคอบ ไม่ใช่คนเดียวสองคนคิด แล้วทำไปตามใจตามอารมณ์ เราจะต้องช่วยกันหลายคน คิดค้นวิจัยโดยอาศัยหลักวิชา ซึ่งข้าพเจ้าขอมอบให้สาขาสังคมวิทยาทำหน้าที่สำคัญอันนี้

       งานของสาขาต่างๆ ที่ตั้งขึ้นตามพระราชบัญญัติสภาวิจัยแห่งชาตินี้ จะต้องประสานกันเสมอ มาตรา 6(3) แห่งพระราชบัญญัติ จึงบัญญัติให้เป็นหน้าที่สภาวิจัยแห่งชาติที่จะประสานงานของสาขาวิชาต่างๆ ข้าพเจ้าขอยกตัวอย่างโดยตั้งเป็นปัญหา เช่นว่า 'ทำอย่างไรจึงจะให้ผลผลิตทางเกษตรกรรมของเรามีปริมาณและคุณภาพสูงยิ่งขึ้น โดยให้ต้นทุนการผลิตต่ำลง' ถ้าเราแก้ปัญหาข้อนี้ได้ เราก็จะแก้ปัญหาอื่นๆ ได้อีกหลายประการ เช่นปัญหารายได้ของเกษตรกร ปัญหาการครองชีพของราษฎรทั่วไป ปัญหาเรื่องตลาดสินค้าขาออก เรื่องดุลยภาพการค้า เรื่องความมั่นคงของเงินตรา เหล่านี้เราจะแก้ได้หมด แต่การวิจัยปัญหาอย่างนี้จะต้องประสานงานกันหลายสาขาในชั้นต้นสาขา เศรษฐศาสตร์รับเรื่องมาเป็นเจ้าของเรื่อง แล้วจะต้องหารือสาขาเกษตรศาสตร์ ในทางเทคนิคของการเกษตร จะต้องพาดพิงไปถึงสาขาวิทยาศาสตร์เคมี จะต้องพิจารณาถึงการชลประทานและเครื่องทุ่นแรงซึ่งเป็นหน้าที่ของสาขา วิศวกรรมศาสตร์ จะต้องออกกฎหมายบางเรื่อง โดยหารือสาขานิติศาสตร์ดังนี้เป็นต้น เป็นหน้าที่ของ คณะกรรมการบริหาร ที่จะต้องวินิจฉัยว่าปัญหาใดจะควรมอบให้สาขาใดเป็นเจ้าของเรื่องและเสนอแนะ ไปด้วยว่าควรจะติดต่อประสานงานกับสาขาใดบ้าง

       ทั้งนี้เป็นโครงงานของสภาวิจัยแห่งชาติ เท่าที่ข้าพเจ้าบรรยายเพียงย่อๆ ท่านทั้งหลายก็จะเห็นได้ว่า งานของสภาวิจัยแห่งชาตินั้นมีมาก และถ้าเราทำให้ดีจริงก็จะได้ประโยชน์อย่างยิ่งเพราะเราจะมีความรู้ทันกาลทัน สมัยอยู่เสมอเราจะต้องไม่ให้มีความเคลื่อนไหวที่สำคัญอันใดของโลกผ่านหูผ่าน ตาเราไป โดยที่เรามิได้เก็บเอามาพินิจพิเคราะห์จะต้องไม่มีเหตุการณ์ใหญ่หลวงอันใด เกิดขึ้น โดยที่เราไม่รู้ตัวไม่คาดหมายหรือไม่ได้เตรียมรับเหตุการณ์นั้นๆ หน้าที่อันสำคัญที่สุดของสภาวิจัยคือการเป็นโหร เพราะผลสุดท้ายของงานวิจัยก็คือ ให้เรารู้ตัวไว้ว่าจะมีอะไรเกิดขึ้น ถ้าเป็นทางดี จะเอามาเป็นประโยชน์แก่ประเทศชาติ ของเราอย่างไร และถ้าเป็นทางร้าย จะหลีกเลี่ยงได้อย่างไร สภาวิจัยคือสภาโหรของบ้านเมืองโหรที่ใช้วิชาการรอบด้าน มีส่วนสำคัญ ในการป้องกันรักษาความมั่นคงของประเทศชาติด้วย ข้าพเจ้าเองเคยได้ยินได้ฟังว่ามีผู้ไปถาม นายวินสตัน เชอร์ชิลล์ อดีตนายกรัฐมนตรีอังกฤษว่าการเป็นนายกรัฐมนตรีนั้นมีความยากลำบากอย่างไร บ้าง นายเชอร์ชิลล์ตอบว่า ความยากลำบากมีอยู่อย่างเดียวคือการเป็นโหร เพราะการที่จะดำเนินงานของประเทศชาติให้เป็นผลดีจริงนั้น จะต้องสามารถคาดหมายทายล่วงหน้าได้อย่างถูกต้องว่าเรื่องอย่างนี้จะเกิดผล อย่างไร สภาพการณ์ที่เป็นอยู่ในปัจจุบันนี้ จะก่อให้เกิดมีอะไรขึ้นในภายหน้า ถ้าทายถูกก็จะเป็นความ สำเร็จอันใหญ่หลวงในหน้าที่การงานของนายกรัฐมนตรี ถ้าทายผิดก็จะเป็นความล้มเหลวและจะเป็นภยันตรายต่อประเทศชาติด้วยข้าพเจ้า ตระหนักในความสำคัญข้อนี้ จึงพยายามก่อตั้งสภาวิจัยแห่งชาติ เพื่อช่วยข้าพเจ้าในทางเป็นโหรด้วย

       ด้วยเหตุผลประการต่างๆ ดังที่กล่าวนี้ ข้าพเจ้าจึงขอมอบความไว้วางใจให้แก่ท่านกรรมการ กรรมการบริหารและที่ปรึกษาของสภานี้ ขอได้โปรดช่วยกันทำงานให้เต็มที่ตามวัตถุประสงค์ที่ข้าพเจ้าบรรยายมาขอคุณ พระรัตนตรัยและสิ่งศักดิ์สิทธิ์ ทั้งหลายจงปกปักรักษาทุกท่าน และดลบันดาลให้มีกำลังใจกำลังกาย กำลังความคิด เพื่อดำเนินงานของสภานี้ให้ได้ประโยชน์อย่างยิ่งแก่ประเทศชาติสืบไป

       ข้าพเจ้าขอเปิดประชุมสภาวิจัยแห่งชาติ ณ บัดนี้

คัดจากสำเนาต้นฉบับ

จากหนังสือ 'ประมวลสุนทรพจน์ของ จอมพล สฤษดิ์ ธนะรัชต์ 2502 - 2504'

 คำกล่าวเนื่องในโอกาสเปิดประชุมสภาวิจัยแห่งชาติ ครั้งที่ 1 เมื่อวันที่ 23 ธันวาคม 2502

ห้องสมุดสำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี ทำเนียบรัฐบาล

                                 สำเนาถูกต้อง                          รศนา สวัสดิภาพ                  (น.ส.รศนา สวัสดิภาพ)                             17 ตุลาคม 2540


ความคิดเห็นของผู้เข้าชม
ชื่อผู้แสดงความคิดเห็น :
สถานะ : รหัสผ่าน :
ลิงค์ที่เกี่ยวข้อง :
รหัสความปลอดภัย :